หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นำ
หน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสิ่งควบคู่กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ความรับผิดชอบ เกิดขึ้นและมีอยู่กับบุคคลโดยไม่อาจมอบหมายให้กันได้ เพราะเป็นเรื่องของทัศนคติ ความรับผิดชอบจะมีขีดจำกัดอยู่ที่ความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความซื่อตรงต่อข้อผูกพันที่ปรากฏขึ้น
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นำมีอยู่มากมาย ซึ่งในฐานะผู้นำขององค์การเมื่อผู้นำดำรงตำแหน่งในองค์การย่อมต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยทั่วไปจะมีหน้าที่หลักอยู่ 3 ประการ ดังนี้ ( นิภาพรรณ สุวรรณนาถ.2541:163-164 )
1.หน้าที่ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ( Interpersonal Functions ) ผู้บริหารมีหน้าที่หลักในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของหน่วยงาน จะต้องออกงานพิธีหรือออกหน้าแทนสมาชิกอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ขององค์การและสมาชิกและปกป้องเมื่อมีการกล่าวถึงองค์การในแง่ร้ายผู้บริหารในบทบาทหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพขององค์การต่อสาธารณชนในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ ผู้บริหารจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อ รับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงาน ซึ่งช่วยให้ทราบความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในองค์การ การกำหนดเป้าหมาย ทิศทางการดำเนินงานต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องอาศัยข้อมูลความต้องการของสมาชิก การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในองค์การก็เป็นการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีด้วย ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนี้ผู้บริหารอาจต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการติดต่อพูดคุยแต่ก็คุ้มค่าในการใช้เวลานั้น
2.หน้าที่ด้านข่าวสาร ( Informational Functions ) กล่าวได้ว่าผู้บริหารเป็นจุดศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในองค์การ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะถูกรายงานไปยังผู้บริหารเพื่อทราบและตัดสินใจ ผู้บริหารที่ฉลาดจึงต้องมีข้อมูลให้มากที่สุดเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจ ซึ่งนอกจากได้มาจากการรับรายงานที่เป็นทางการจากส่วนต่าง ๆ ขององค์การและการเข้าไปพบปะพูดคุยกับพนักงานอื่น ๆ แล้ว ผู้บริหารยังต้องเสาะแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข่าวภายนอก เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวารสารวิชาการต่าง ๆ ในหน้าที่นี้ผู้บริหารจึงเท่ากับเป็นเครื่องรับข่าวสาร และยังมีหน้าที่ในการกระจายข่าวไปยังผู้อื่นด้วย แต่จะเกิดประโยชน์แก่องค์การมากที่สุด ขณะเดียวกันยังต้องทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศหรือโฆษกขององค์การที่จะทำให้บุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การได้ทราบว่าองค์การของตนมีเป้าหมายนโยบายหรือแผนงานอะไร ผู้บริหารอาจทำหน้าที่ด้วยตนเองหรือประกาศผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ ก็ได้
3.หน้าที่ด้านตัดสินใจ ( Decision-making Functions ) ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการ ( Entrepreneur ) ผู้บริหารจะต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นำสิ่งใหม่ ๆ และเปลี่ยนแปลงองค์การให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้บริหารจะต้องวิเคราะห์แนวโน้มของสังคมที่มีต่องานที่ตนรับผิดชอบและหาทางปรับปรุงผลงานให้ดีอยู่เสมอ ดังนั้น จึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Change Agent ) ซึ่งโดยปกติผู้บริหารระดับสูงจะเป็นผู้ปรับปรุงด้านนโยบายและผู้บริหารระดับกลางมักจะทำหน้าที่ในการเสนอแนวทางการพัฒนาด้านเทคนิคการผลิตหรือการตลาด เป็นต้น การบริหารคนเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ลดน้อยลง ถ้างานไม่มีประสิทธิภาพหรือบุคลากรในองค์การมีความขัดแย้งกัน ในเรื่องการแก้ปัญหาขึ้น โคเฮ็น และคณะกล่าวไว้ว่า หัวหน้างานระดับต้นจะใช้เวลาในการแก้ปัญหาเรื่องมากกว่าผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป เพราะเขาจะต้องทำให้งานประจำวันดำเนินไปให้ดีที่สุดและปราศจากอุปสรรคในการทำงาน การตัดสินใจเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เพราะการจัดสรรทรัพยากร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น