คุณลักษณะของผู้นำ
1.คุณลักษณะของผู้นำที่ดี
คุณลักษณะของผู้นำ เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวของผู้นำแต่ละบุคคล จะมีผลทำให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่มีทั้งคุณลักษณะทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้ที่มาติดต่อสัมพันธ์กัน คุณลักษณะของผู้นำจะประกอบไปด้วยรูปสมบัติและคุณสมบัติ
รูปสมบัติ หมายถึง รูปร่าง หน้าตา และการแต่งกาย การปรากฏตัว การใช้น้ำเสียงกิริยาท่าทาง การพูด
คุณสมบัติ หมายถึง ลักษณะนิสัยต่าง ๆ เช่น ความซื่อสัตย์ ความสุภาพ ความกระตือรือร้น ความเชื่อมั่นในตนเอง ความรอบรู้ ความคิดริเริ่ม ความจำ และอารมณ์ขัน
ผู้นำจะต้องประกอบขึ้นด้วยคุณลักษณะสำคัญ ๆ หลายประการจึงจะสามารถติดต่อสื่อความคิดสร้างความสัมพันธ์และนำการกระทำของหมู่คณะได้ คุณลักษณะสำคัญ ๆของบุคคลที่มีลักษณะเป็นผู้นำ
1. มีความคิดริเริ่ม
1.1แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่ม
1.2เสนอความคิดที่จัดเป็นระเบียบ
1.3ไม่ย่อท้อต่องานหนัก
1.4ไม่ไร้ความคิดในยามคับขัน
2.ทำงานให้เจริญขึ้นหรือก้าวหน้าขึ้น
2.1พยายามส่งเสริมให้ลูกน้องเจริญขึ้น
2.2ยอมรับความไม่รู้ของตัวเองและพยายามแสวงหาผู้มาช่วยหรือศึกษา
เพิ่มเติม
3.มองเห็นและรับรู้ความคิดของผู้อื่น
3.1ยอมรับและสนับสนุนความคิดริเริ่มของผู้อื่น
3.2มองเห็นปัญหาและข้อข้องใจของผู้อื่น
3.3มองเห็นความสามารถหรือศักยภาพ ( Potentialities ) ของผู้อื่น
4.พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
4.1เต็มใจและมีความเมตตาต่อผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ใต้บังคับบัญชาที่เริ่มเข้ามาทำงานใหม่
4.2พยายามช่วยเหลือแนะแนวทางแก้ปัญหาให้ผู้อื่น
5.ความสามารถในทางแสดงความคิดให้ผู้อื่นทราบ เช่น พูดและเขียนได้ชัดเจนเข้าใจง่าย ความสามารถในการพูในที่สาธารณะเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารโดยที่การพูโของผู้บริหารย่อมจะทำให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจความหมายมองเห็นสภาพความเป็นจริงของหน่วยงาน บางครั้งคนจะเชื่อหรือไม่เชื่อใจผู้บังคับบัญชา ก็เพราะความสามารถในการพูดนั่นเอง
6.รู้จักการติดต่อประสานงานให้เกิดความกลมกลืนระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ผู้นำจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในหน่วยงานนั้น ๆ โดยตรง การจัดงานที่ดีย่อมจะมีส่วนช่วยในเรื่องนี้ได้มาก
7.รู้จักเข้าสังคมเป็นที่เชื่อถือในสังคม
7.1เป็นผู้ที่ไว้ใจได้ ไม่หน้าไหว้หลังหลอก
7.2มีความแน่นอนในความคิดเห็นแต่ไม่ใช่ดื้อรั้น
7.3สุภาพ น่าคบ และเป็นมิตรกับคนได้ทุกชั้น
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา ( 2542:91-92) ได้เสนอแนะคุณลักษณะของผู้นำไว้ว่าผู้ที่มีลักษณะเหมาะที่จะได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้นำหรือแต่งตั้งให้เป็นผู้นำได้นั้น ควรมีลักษณะ 5 ประการดังต่อไปนี้
1.เป็นผู้นำที่มีการปรับตัวดีกว่าบุคคลทั่วไป เพราะผู้ที่สามารถปรับตัวให้ดีย่อมเป็นผู้ที่มีความสุข มีสุขภาพจิตดี และย่อมเป็นผู้ที่อำนวยประโยชน์ให้แก่กลุ่มได้มากกว่าผู้อื่น
2.เป็นบุคคลที่มีลักษณะเด่นกว่าคนทั่วไป มักเป็นคนที่มีผู้สนใจมาก สามารถพูดจาชักจูงให้สมาชิกทำตามโดยง่าย เป็นผู้สามารถนำคนอื่นได้ เพราะมีความรู้ดีกว่าบุคลิกดีกว่าผู้อื่น
วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551
สรุป
การศึกษาการเป็นผู้นำเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ที่ผู้ศึกษาจะต้องเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจเป็นอย่างดี เพื่อให้การปฏิบัติงานไปสู่ความสำเร็จ โดยมีปัญหาน้อยที่สุดเพราะการเป็นผู้นำมีความจำเป็นต่อการพัฒนาตนเอง และต่อการจัดองค์การให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการนำเสนอเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึงความหมายของการเป็นผู้นำ ความสำคัญของการเป็นผู้นำ องค์ประกอบการเป็นผู้นำ แหล่งที่มาของอิทธิพลของผู้นำ และทฤษฏีการเป็นผู้นำ จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาอย่างยิ่งที่จะนำไปปฏิบัติเพื่อการเป็นผู้นำที่ดี
การศึกษาการเป็นผู้นำเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ที่ผู้ศึกษาจะต้องเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจเป็นอย่างดี เพื่อให้การปฏิบัติงานไปสู่ความสำเร็จ โดยมีปัญหาน้อยที่สุดเพราะการเป็นผู้นำมีความจำเป็นต่อการพัฒนาตนเอง และต่อการจัดองค์การให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการนำเสนอเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึงความหมายของการเป็นผู้นำ ความสำคัญของการเป็นผู้นำ องค์ประกอบการเป็นผู้นำ แหล่งที่มาของอิทธิพลของผู้นำ และทฤษฏีการเป็นผู้นำ จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาอย่างยิ่งที่จะนำไปปฏิบัติเพื่อการเป็นผู้นำที่ดี
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นำ
หน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสิ่งควบคู่กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ความรับผิดชอบ เกิดขึ้นและมีอยู่กับบุคคลโดยไม่อาจมอบหมายให้กันได้ เพราะเป็นเรื่องของทัศนคติ ความรับผิดชอบจะมีขีดจำกัดอยู่ที่ความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความซื่อตรงต่อข้อผูกพันที่ปรากฏขึ้น
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นำมีอยู่มากมาย ซึ่งในฐานะผู้นำขององค์การเมื่อผู้นำดำรงตำแหน่งในองค์การย่อมต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยทั่วไปจะมีหน้าที่หลักอยู่ 3 ประการ ดังนี้ ( นิภาพรรณ สุวรรณนาถ.2541:163-164 )
1.หน้าที่ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ( Interpersonal Functions ) ผู้บริหารมีหน้าที่หลักในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของหน่วยงาน จะต้องออกงานพิธีหรือออกหน้าแทนสมาชิกอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ขององค์การและสมาชิกและปกป้องเมื่อมีการกล่าวถึงองค์การในแง่ร้ายผู้บริหารในบทบาทหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพขององค์การต่อสาธารณชนในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ ผู้บริหารจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อ รับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงาน ซึ่งช่วยให้ทราบความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในองค์การ การกำหนดเป้าหมาย ทิศทางการดำเนินงานต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องอาศัยข้อมูลความต้องการของสมาชิก การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในองค์การก็เป็นการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีด้วย ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนี้ผู้บริหารอาจต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการติดต่อพูดคุยแต่ก็คุ้มค่าในการใช้เวลานั้น
2.หน้าที่ด้านข่าวสาร ( Informational Functions ) กล่าวได้ว่าผู้บริหารเป็นจุดศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในองค์การ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะถูกรายงานไปยังผู้บริหารเพื่อทราบและตัดสินใจ ผู้บริหารที่ฉลาดจึงต้องมีข้อมูลให้มากที่สุดเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจ ซึ่งนอกจากได้มาจากการรับรายงานที่เป็นทางการจากส่วนต่าง ๆ ขององค์การและการเข้าไปพบปะพูดคุยกับพนักงานอื่น ๆ แล้ว ผู้บริหารยังต้องเสาะแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข่าวภายนอก เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวารสารวิชาการต่าง ๆ ในหน้าที่นี้ผู้บริหารจึงเท่ากับเป็นเครื่องรับข่าวสาร และยังมีหน้าที่ในการกระจายข่าวไปยังผู้อื่นด้วย แต่จะเกิดประโยชน์แก่องค์การมากที่สุด ขณะเดียวกันยังต้องทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศหรือโฆษกขององค์การที่จะทำให้บุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การได้ทราบว่าองค์การของตนมีเป้าหมายนโยบายหรือแผนงานอะไร ผู้บริหารอาจทำหน้าที่ด้วยตนเองหรือประกาศผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ ก็ได้
3.หน้าที่ด้านตัดสินใจ ( Decision-making Functions ) ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการ ( Entrepreneur ) ผู้บริหารจะต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นำสิ่งใหม่ ๆ และเปลี่ยนแปลงองค์การให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้บริหารจะต้องวิเคราะห์แนวโน้มของสังคมที่มีต่องานที่ตนรับผิดชอบและหาทางปรับปรุงผลงานให้ดีอยู่เสมอ ดังนั้น จึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Change Agent ) ซึ่งโดยปกติผู้บริหารระดับสูงจะเป็นผู้ปรับปรุงด้านนโยบายและผู้บริหารระดับกลางมักจะทำหน้าที่ในการเสนอแนวทางการพัฒนาด้านเทคนิคการผลิตหรือการตลาด เป็นต้น การบริหารคนเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ลดน้อยลง ถ้างานไม่มีประสิทธิภาพหรือบุคลากรในองค์การมีความขัดแย้งกัน ในเรื่องการแก้ปัญหาขึ้น โคเฮ็น และคณะกล่าวไว้ว่า หัวหน้างานระดับต้นจะใช้เวลาในการแก้ปัญหาเรื่องมากกว่าผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป เพราะเขาจะต้องทำให้งานประจำวันดำเนินไปให้ดีที่สุดและปราศจากอุปสรรคในการทำงาน การตัดสินใจเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เพราะการจัดสรรทรัพยากร
หน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสิ่งควบคู่กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ความรับผิดชอบ เกิดขึ้นและมีอยู่กับบุคคลโดยไม่อาจมอบหมายให้กันได้ เพราะเป็นเรื่องของทัศนคติ ความรับผิดชอบจะมีขีดจำกัดอยู่ที่ความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความซื่อตรงต่อข้อผูกพันที่ปรากฏขึ้น
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นำมีอยู่มากมาย ซึ่งในฐานะผู้นำขององค์การเมื่อผู้นำดำรงตำแหน่งในองค์การย่อมต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยทั่วไปจะมีหน้าที่หลักอยู่ 3 ประการ ดังนี้ ( นิภาพรรณ สุวรรณนาถ.2541:163-164 )
1.หน้าที่ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ( Interpersonal Functions ) ผู้บริหารมีหน้าที่หลักในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของหน่วยงาน จะต้องออกงานพิธีหรือออกหน้าแทนสมาชิกอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ขององค์การและสมาชิกและปกป้องเมื่อมีการกล่าวถึงองค์การในแง่ร้ายผู้บริหารในบทบาทหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพขององค์การต่อสาธารณชนในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ ผู้บริหารจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อ รับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงาน ซึ่งช่วยให้ทราบความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในองค์การ การกำหนดเป้าหมาย ทิศทางการดำเนินงานต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องอาศัยข้อมูลความต้องการของสมาชิก การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในองค์การก็เป็นการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีด้วย ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนี้ผู้บริหารอาจต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการติดต่อพูดคุยแต่ก็คุ้มค่าในการใช้เวลานั้น
2.หน้าที่ด้านข่าวสาร ( Informational Functions ) กล่าวได้ว่าผู้บริหารเป็นจุดศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในองค์การ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะถูกรายงานไปยังผู้บริหารเพื่อทราบและตัดสินใจ ผู้บริหารที่ฉลาดจึงต้องมีข้อมูลให้มากที่สุดเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจ ซึ่งนอกจากได้มาจากการรับรายงานที่เป็นทางการจากส่วนต่าง ๆ ขององค์การและการเข้าไปพบปะพูดคุยกับพนักงานอื่น ๆ แล้ว ผู้บริหารยังต้องเสาะแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข่าวภายนอก เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวารสารวิชาการต่าง ๆ ในหน้าที่นี้ผู้บริหารจึงเท่ากับเป็นเครื่องรับข่าวสาร และยังมีหน้าที่ในการกระจายข่าวไปยังผู้อื่นด้วย แต่จะเกิดประโยชน์แก่องค์การมากที่สุด ขณะเดียวกันยังต้องทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศหรือโฆษกขององค์การที่จะทำให้บุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การได้ทราบว่าองค์การของตนมีเป้าหมายนโยบายหรือแผนงานอะไร ผู้บริหารอาจทำหน้าที่ด้วยตนเองหรือประกาศผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ ก็ได้
3.หน้าที่ด้านตัดสินใจ ( Decision-making Functions ) ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการ ( Entrepreneur ) ผู้บริหารจะต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นำสิ่งใหม่ ๆ และเปลี่ยนแปลงองค์การให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้บริหารจะต้องวิเคราะห์แนวโน้มของสังคมที่มีต่องานที่ตนรับผิดชอบและหาทางปรับปรุงผลงานให้ดีอยู่เสมอ ดังนั้น จึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Change Agent ) ซึ่งโดยปกติผู้บริหารระดับสูงจะเป็นผู้ปรับปรุงด้านนโยบายและผู้บริหารระดับกลางมักจะทำหน้าที่ในการเสนอแนวทางการพัฒนาด้านเทคนิคการผลิตหรือการตลาด เป็นต้น การบริหารคนเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ลดน้อยลง ถ้างานไม่มีประสิทธิภาพหรือบุคลากรในองค์การมีความขัดแย้งกัน ในเรื่องการแก้ปัญหาขึ้น โคเฮ็น และคณะกล่าวไว้ว่า หัวหน้างานระดับต้นจะใช้เวลาในการแก้ปัญหาเรื่องมากกว่าผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป เพราะเขาจะต้องทำให้งานประจำวันดำเนินไปให้ดีที่สุดและปราศจากอุปสรรคในการทำงาน การตัดสินใจเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เพราะการจัดสรรทรัพยากร
ความหมายของความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบ หมายถึง ภาระหรือพันธะผูกพันในการจะปฏิบัติหน้าที่การงานของผู้ร่วมงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ
เนื่องจากบุคคลต้องอยู่ร่วมกันทำงานในองค์การ จำเป็นต้องปรับลักษณะนิสัย เจตคติของบุคคลเพื่อช่วยเป็นเครื่องผลักดันให้ปฏิบัติงานตามระเบียบรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและมีความซื่อสัตย์สุจริต คนที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้การปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปด้วยความราบรื่น ความรับผิดชอบจึงเป็นภาระผูกพันที่ผู้นำต้องสร้างขึ้นเพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างดี
ถ้าในองค์การใดมีบุคคลที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้เกิดผลดีต่อองค์การดังนี้คือ
1.องค์การจะได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากผู้ร่วมงานและผู้อื่น
2.การปฏิบัติงานจะพบความสำเร็จทันเวลาและทันต่อเหตุการณ์ ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
3.ทำให้เกิดความเชื่อถือในตนเอง เพราะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเรียบร้อย
4.องค์การเกิดความมั่นคงเป็นที่ยอมรับนับถือจากผู้อื่น
5.องค์การประสบความสำเร็จสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นปึกแผ่นและมั่นคง
6.สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ความรับผิดชอบ หมายถึง ภาระหรือพันธะผูกพันในการจะปฏิบัติหน้าที่การงานของผู้ร่วมงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ
เนื่องจากบุคคลต้องอยู่ร่วมกันทำงานในองค์การ จำเป็นต้องปรับลักษณะนิสัย เจตคติของบุคคลเพื่อช่วยเป็นเครื่องผลักดันให้ปฏิบัติงานตามระเบียบรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและมีความซื่อสัตย์สุจริต คนที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้การปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปด้วยความราบรื่น ความรับผิดชอบจึงเป็นภาระผูกพันที่ผู้นำต้องสร้างขึ้นเพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างดี
ถ้าในองค์การใดมีบุคคลที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้เกิดผลดีต่อองค์การดังนี้คือ
1.องค์การจะได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากผู้ร่วมงานและผู้อื่น
2.การปฏิบัติงานจะพบความสำเร็จทันเวลาและทันต่อเหตุการณ์ ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
3.ทำให้เกิดความเชื่อถือในตนเอง เพราะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเรียบร้อย
4.องค์การเกิดความมั่นคงเป็นที่ยอมรับนับถือจากผู้อื่น
5.องค์การประสบความสำเร็จสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นปึกแผ่นและมั่นคง
6.สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
นอกจากนั้นหน้าที่ของผู้นำยังครอบคลุมหน้าที่ของนักบริหาร 5 ประการคือ
1.การวางแผน ( Planning ) ในการดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับภารกิจ( Mission ) วัตถุประสงค์ ( Objective ) และการปฏิบัติ ( Actions ) ผู้นำจะต้องรู้และเข้าใจนโยบายรู้ระเบียบวิธีปฏิบัติงานของหน่วยงาน สามารถที่จะวางแผนงานและปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้การตัดสินใจในการวางแผนในอนาคตขององค์การผิดพลาดน้อยที่สุด
2.การจัดองค์การ ( Organizing ) เป็นการกำหนดโครงสร้างบทบาทหน้าที่ของบุคลากรที่ทำงานในองค์การ ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการกำหนดงานและแบ่งงานในหน่วยงานให้เหมาะสมกับตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่ตนรับผิดชอบอย่างเต็มกำลังและความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน
3.การจัดบุคคลเข้าทำงาน ( Staffing ) เป็นการสรรหา การบรรจุแต่งตั้งและดำรงรักษาบุคคลในองค์การไว้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะต้องมีความสามารถด้านการบริหารจัดการบุคคล ในแต่ละตำแหน่งหน้าที่ของโครงสร้างองค์การ
4.การเป็นผู้นำ( Leading ) เป็นการที่ผู้นำนั้นสามารถมีอิทธิพลต่อบุคคลเพื่อให้เขาทำประโยชน์ให้กับองค์การ และเป้าหมายของผู้ร่วมงานเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดทำในการระดมความคิดเห็นของบุคคลนั้น จำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มีประสิทธิภาพสามารถจูงใจบุคคลให้ปฏิบัติตามความต้องการ โดยผู้นำต้องใช้หลักการจูงใจ การติดต่อสื่อสารและการสร้างขวัญกำลังใจมาช่วยในการบริหารงาน
5.การควบคุม ( Controlling ) เป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะต้องพัฒนาแผนงานรู้จักการวัดและแก้ไขปรับปรุงการทำงานระหว่างผู้ปฏิบัติกิจกรรมและองค์การ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ การควบคุมนี้เกี่ยวข้องกับการวัดผลถ้าเปรียบเทียบกับเป้าหมายแล้วปรากฏว่าได้เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานก็จะได้รับการแก้ไขปรับปรุงต่อไป เพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพที่ดี
1.การวางแผน ( Planning ) ในการดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับภารกิจ( Mission ) วัตถุประสงค์ ( Objective ) และการปฏิบัติ ( Actions ) ผู้นำจะต้องรู้และเข้าใจนโยบายรู้ระเบียบวิธีปฏิบัติงานของหน่วยงาน สามารถที่จะวางแผนงานและปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้การตัดสินใจในการวางแผนในอนาคตขององค์การผิดพลาดน้อยที่สุด
2.การจัดองค์การ ( Organizing ) เป็นการกำหนดโครงสร้างบทบาทหน้าที่ของบุคลากรที่ทำงานในองค์การ ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการกำหนดงานและแบ่งงานในหน่วยงานให้เหมาะสมกับตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่ตนรับผิดชอบอย่างเต็มกำลังและความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน
3.การจัดบุคคลเข้าทำงาน ( Staffing ) เป็นการสรรหา การบรรจุแต่งตั้งและดำรงรักษาบุคคลในองค์การไว้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะต้องมีความสามารถด้านการบริหารจัดการบุคคล ในแต่ละตำแหน่งหน้าที่ของโครงสร้างองค์การ
4.การเป็นผู้นำ( Leading ) เป็นการที่ผู้นำนั้นสามารถมีอิทธิพลต่อบุคคลเพื่อให้เขาทำประโยชน์ให้กับองค์การ และเป้าหมายของผู้ร่วมงานเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดทำในการระดมความคิดเห็นของบุคคลนั้น จำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มีประสิทธิภาพสามารถจูงใจบุคคลให้ปฏิบัติตามความต้องการ โดยผู้นำต้องใช้หลักการจูงใจ การติดต่อสื่อสารและการสร้างขวัญกำลังใจมาช่วยในการบริหารงาน
5.การควบคุม ( Controlling ) เป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะต้องพัฒนาแผนงานรู้จักการวัดและแก้ไขปรับปรุงการทำงานระหว่างผู้ปฏิบัติกิจกรรมและองค์การ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ การควบคุมนี้เกี่ยวข้องกับการวัดผลถ้าเปรียบเทียบกับเป้าหมายแล้วปรากฏว่าได้เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานก็จะได้รับการแก้ไขปรับปรุงต่อไป เพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพที่ดี
หน้าที่ในการปฏิบัติงานของผู้นำสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประการคือ
1. การบำรุงรักษากลุ่ม ( Group Maintenance ) หน้าที่ของผู้นำในการบำรุงรักษากลุ่ม เป็นการแสดงบทบาทหน้าที่ของผู้นำในฐานะผู้ประสานงานที่ดีสำหรับผู้ร่วมงานโดยการเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้แสดงความคิดเห็น ช่วยกันแก้ไขปัญหาและสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานทำงานตามอิสระตามความสามารถและตามความเหมาะสม
2. การทำงานให้บรรลุจุดประสงค์เป้าหมาย ( Goal Achievement Function ) หน้าที่ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายของผู้นำ เป็นการแสดงบทบาทหน้าที่ของผู้นำในการบริหารงานและดำเนินกิจกรรมขององค์การ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งได้แก่ ความสามารถทางด้านการวางแผนการประสานงาน การสั่งการ และการติดต่อสื่อสาร ตลอดทั้งความสามารถในการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้งานบรรลุจุดประสงค์ขององค์การ
1. การบำรุงรักษากลุ่ม ( Group Maintenance ) หน้าที่ของผู้นำในการบำรุงรักษากลุ่ม เป็นการแสดงบทบาทหน้าที่ของผู้นำในฐานะผู้ประสานงานที่ดีสำหรับผู้ร่วมงานโดยการเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้แสดงความคิดเห็น ช่วยกันแก้ไขปัญหาและสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานทำงานตามอิสระตามความสามารถและตามความเหมาะสม
2. การทำงานให้บรรลุจุดประสงค์เป้าหมาย ( Goal Achievement Function ) หน้าที่ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายของผู้นำ เป็นการแสดงบทบาทหน้าที่ของผู้นำในการบริหารงานและดำเนินกิจกรรมขององค์การ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งได้แก่ ความสามารถทางด้านการวางแผนการประสานงาน การสั่งการ และการติดต่อสื่อสาร ตลอดทั้งความสามารถในการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้งานบรรลุจุดประสงค์ขององค์การ
ความหมายของหน้าที่
หน้าที่ หมายถึง การกำหนดกิจกรรมหรือการได้รับสิทธิในการตัดสินใจเพื่อจะได้ปฏิบัติงานต่าง ๆ ในหน่วยงาน
การเป็นผู้นำที่ดีย่อมที่จะต้องเป็นผู้บริหารที่ดีด้วย เพราะต้องทราบงานในหน้าที่ของตน นั่นคือต้องมีหลักการบริหารงานเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างมีระเบียบแบบแผน จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ
หน้าที่ หมายถึง การกำหนดกิจกรรมหรือการได้รับสิทธิในการตัดสินใจเพื่อจะได้ปฏิบัติงานต่าง ๆ ในหน่วยงาน
การเป็นผู้นำที่ดีย่อมที่จะต้องเป็นผู้บริหารที่ดีด้วย เพราะต้องทราบงานในหน้าที่ของตน นั่นคือต้องมีหลักการบริหารงานเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างมีระเบียบแบบแผน จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ
บทบาทของผู้นำตามข้อคิดเห็นและจากการศึกษามีลักษณะที่น่าสังเกต พอสรุปได้ดังนี้
1.รู้จักการทำงานที่มีความเป็นประชาธิปไตยไม่เล่นพรรคพวก
2.เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาแก้ปัญหากับผู้บริหาร
3.ในการทำงานผู้นำต้องสร้างศรัทธาให้กับผู้ร่วมงานทุกระดับ
4.จัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อให้ปฏิบัติกิจกรรมอย่างรู้จุดมุ่งหมายทั้งของงานและขององค์การ
5.ความสำเร็จของงานควรให้ทุกคนได้รู้สึกว่าเป็นของทุกคน
6.ให้ผู้ร่วมงานเกิดความรักผูกพันไม่คิดโยกย้ายหรือลาออกจากองค์การด้วยความสัมพันธ์
7.รู้จักการมอบหมายงานให้กับผู้ร่วมงานตามความรู้ความสามารถ
8.ควรทำการแบ่งปันให้เท่ากัน เมื่อมีผลประโยชน์ในองค์การ
9.ควรให้ผู้ร่วมงานเกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือองค์การ
10.มีการประชุมปรึกษาหารือกัน มีการติดต่อสื่อสารให้ทราบโดยทั่วกัน
11.ให้ผู้ร่วมงานมีความรู้สึกรับผิดชอบและรักษาผลประโยชน์ขององค์การ
12.ให้ทุกคนได้ร่วมมือกันสร้างผลงานจนพบความสำเร็จ
13.ต้องรู้หลักการประสานงานที่ดี
14.พัฒนาและส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
15.รู้จักการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เพื่ออนาคตขององค์การโดยพัฒนางานให้บรรลุเป้าหมาย
16.มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมในศตวรรษใหม่
1.รู้จักการทำงานที่มีความเป็นประชาธิปไตยไม่เล่นพรรคพวก
2.เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาแก้ปัญหากับผู้บริหาร
3.ในการทำงานผู้นำต้องสร้างศรัทธาให้กับผู้ร่วมงานทุกระดับ
4.จัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อให้ปฏิบัติกิจกรรมอย่างรู้จุดมุ่งหมายทั้งของงานและขององค์การ
5.ความสำเร็จของงานควรให้ทุกคนได้รู้สึกว่าเป็นของทุกคน
6.ให้ผู้ร่วมงานเกิดความรักผูกพันไม่คิดโยกย้ายหรือลาออกจากองค์การด้วยความสัมพันธ์
7.รู้จักการมอบหมายงานให้กับผู้ร่วมงานตามความรู้ความสามารถ
8.ควรทำการแบ่งปันให้เท่ากัน เมื่อมีผลประโยชน์ในองค์การ
9.ควรให้ผู้ร่วมงานเกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือองค์การ
10.มีการประชุมปรึกษาหารือกัน มีการติดต่อสื่อสารให้ทราบโดยทั่วกัน
11.ให้ผู้ร่วมงานมีความรู้สึกรับผิดชอบและรักษาผลประโยชน์ขององค์การ
12.ให้ทุกคนได้ร่วมมือกันสร้างผลงานจนพบความสำเร็จ
13.ต้องรู้หลักการประสานงานที่ดี
14.พัฒนาและส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
15.รู้จักการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เพื่ออนาคตขององค์การโดยพัฒนางานให้บรรลุเป้าหมาย
16.มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมในศตวรรษใหม่
บทบาทของผู้นำในองค์การ
บทบาทของผู้นำในองค์การ ตามความเห็นของนักวิชาการชาวสหรัฐอเมริกาชื่อ สตีเฟน เนเซวิช ( อ้างจากนิพนธ์ กินาวงศ์ . 2542 : 54 – 56 ) ได้รวบรวมบทบาทของผู้นำไว้ 17 ประการดังนี้
1. เป็นผู้กำหนดทิศทางในการปฏิบัติงาน ( Direction Setter ) บทบาทของผู้บริหารต้องมีความสามารถในการแนะนำ ชี้แจง ทำความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน มีความสามารถในการเขียนแผนงานและโครงการ และการบริหาร ที่ยึดวัตถุประสงค์และผลงานเพื่อช่วยให้หน่วยบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
2. เป็นผู้กระตุ้นความเป็นผู้นำ ( Leader – Catalyst ) บทบาทด้านนี้ต้องเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถในการสร้างทีมงานที่มีแรงจูงใจกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตาม โดยมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของบุคคลในหน่วยงาน
3. เป็นผู้จัดระบบ ( Systems Manager ) บทบาทของผู้บริหารต้องมีความสามารถในการนำทฤษฏีทางการบริหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมรู้จักวิเคราะห์ระบบงานและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
4. เป็นผู้บริหารการเรียนรู้ ( Intructional Manager ) บทบาทของผู้บริหารควรมีความเข้าใจในระบบการเรียนรู้ การพัฒนาการของมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการบริหารงานและเข้าใจในทฤษฏีการสร้างและพัฒนาองค์การ
5. เป็นนักประชาสัมพันธ์ ( Public Relator ) บทบาทของการเป็นประชาสัมพันธ์ผู้บริหารต้องมีทักษะในการสร้างภาพพจน์ที่ดีรู้วิธีการที่จะเผยแพร่ข่าวสารด้วยสื่อและวิธีการต่าง ๆ
6. เป็นผู้บริหารบุคคล ( Personnel Manager ) บทบาท ของผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในเทคนิคการเป็นผู้นำ การสรรหาคนเข้าทำงาน การพัฒนาบุคคลเสริมสร้างขวัญกำลังใจตลอดทั้งการประเมินผลการปฏิบัติงาน
7. เป็นผู้ประเมินผล ( Appraiser ) บทบาทของผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในการประเมินความต้องการ การประเมินระบบ ด้วยวิธีการทางสถิติและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
8. เป็นประธานในพิธีต่าง ๆ ( Ceremonial Head ) ผู้บริหารจะต้องมีบทบาทที่จำเป็นในการเป็นประธานพิธีต่าง ๆ ซึ่งจะต้องใช้ความสามารถ ในการแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับสถานการณ์
9. เป็นผู้แก้ความขัดแย้ง ( Conflict Manager ) ผู้บริหารจะต้องมีบทบาทในการเป็นผู้แก้ความขัดแย้ง เข้าใจในสาเหตุของความขัดแย้ง เพราะความขัดแย้งย่อมมีเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ ผู้บริหารจึงต้องมีความสามารถในการขจัดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น
10. เป็นผู้ตัดสิน( Decision Maker ) ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฏีต่าง ๆในการตัดสินใจ ตลอดจนมีความสามารถในการวินิจฉัยสั่งการเพื่อป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น
11. เป็นผู้เปลี่ยน ( Change Manager ) ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้นำในด้านการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์การเพื่อพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพ ผู้นำต้องรู้ว่าควรจะเปลี่ยนอะไร เปลี่ยนอย่างไรแบบทางใด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์
12. เป็นผู้บริหารแบบนักวางแผน ( Planner ) ผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตเตรียมวางแผนในการวางตัวบุคคลให้พร้อมกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น
13. เป็นผู้แก้ปัญหา ( Problems Manager ) ผู้บริหารต้องมีบทบาทในการแก้ปัญหามีความสามารถในการวินิจฉัยปัญหาเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การไม่จำเป็นต้องมีความขัดแย้งเสมอไป เพราะอาจมีปัญหาด้านอื่น ๆ ที่ผู้นำต้องสามารถแก้ปัญหาได้
14. เป็นผู้สื่อสาร ( Communicator ) บทบาทของผู้บริหารจะต้องเป็นผู้มีความสามารถในการสื่อสารทั้งภาษาเขียนและภาษาพูด วิธีการใช้สื่อต่าง ๆ ในการสื่อสารตลอดทั้งมีความสามารถในการประชาสัมพันธ์หน่วยงานของตน
15. เป็นผู้จัดองค์การ ( Organizer ) บทบาทของผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบงาน รู้วิธีการกำหนดโครงสร้างขององค์การขึ้นใหม่และมีความเข้าใจในพฤติกรรมขององค์การ
16. เป็นผู้บริหารทรัพยากร ( Resource Manager ) บทบาทของผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในการบริหาร 4” M คือ คน งาน วัสดุ และกระบวนการทำงานในองค์การ ตลอดทั้งการทำการศึกษา และการแสวงหาทรัพยากรจากภายนอกมาสนับสนุนการปฏิบัติงาน
17. เป็นผู้ประสานงาน ( Coordinator ) บทบาทของผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในการประสานกิจกรรมขององค์การ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ของบุคคล เข้าใจเครือข่ายของการสื่อสาร รู้วิธีการนิเทศงานและวิธีการรายงานผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานขององค์การมีประสิทธิภาพ
บทบาทของผู้นำในองค์การ ตามความเห็นของนักวิชาการชาวสหรัฐอเมริกาชื่อ สตีเฟน เนเซวิช ( อ้างจากนิพนธ์ กินาวงศ์ . 2542 : 54 – 56 ) ได้รวบรวมบทบาทของผู้นำไว้ 17 ประการดังนี้
1. เป็นผู้กำหนดทิศทางในการปฏิบัติงาน ( Direction Setter ) บทบาทของผู้บริหารต้องมีความสามารถในการแนะนำ ชี้แจง ทำความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน มีความสามารถในการเขียนแผนงานและโครงการ และการบริหาร ที่ยึดวัตถุประสงค์และผลงานเพื่อช่วยให้หน่วยบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
2. เป็นผู้กระตุ้นความเป็นผู้นำ ( Leader – Catalyst ) บทบาทด้านนี้ต้องเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถในการสร้างทีมงานที่มีแรงจูงใจกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตาม โดยมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของบุคคลในหน่วยงาน
3. เป็นผู้จัดระบบ ( Systems Manager ) บทบาทของผู้บริหารต้องมีความสามารถในการนำทฤษฏีทางการบริหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมรู้จักวิเคราะห์ระบบงานและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
4. เป็นผู้บริหารการเรียนรู้ ( Intructional Manager ) บทบาทของผู้บริหารควรมีความเข้าใจในระบบการเรียนรู้ การพัฒนาการของมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการบริหารงานและเข้าใจในทฤษฏีการสร้างและพัฒนาองค์การ
5. เป็นนักประชาสัมพันธ์ ( Public Relator ) บทบาทของการเป็นประชาสัมพันธ์ผู้บริหารต้องมีทักษะในการสร้างภาพพจน์ที่ดีรู้วิธีการที่จะเผยแพร่ข่าวสารด้วยสื่อและวิธีการต่าง ๆ
6. เป็นผู้บริหารบุคคล ( Personnel Manager ) บทบาท ของผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในเทคนิคการเป็นผู้นำ การสรรหาคนเข้าทำงาน การพัฒนาบุคคลเสริมสร้างขวัญกำลังใจตลอดทั้งการประเมินผลการปฏิบัติงาน
7. เป็นผู้ประเมินผล ( Appraiser ) บทบาทของผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในการประเมินความต้องการ การประเมินระบบ ด้วยวิธีการทางสถิติและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
8. เป็นประธานในพิธีต่าง ๆ ( Ceremonial Head ) ผู้บริหารจะต้องมีบทบาทที่จำเป็นในการเป็นประธานพิธีต่าง ๆ ซึ่งจะต้องใช้ความสามารถ ในการแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับสถานการณ์
9. เป็นผู้แก้ความขัดแย้ง ( Conflict Manager ) ผู้บริหารจะต้องมีบทบาทในการเป็นผู้แก้ความขัดแย้ง เข้าใจในสาเหตุของความขัดแย้ง เพราะความขัดแย้งย่อมมีเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ ผู้บริหารจึงต้องมีความสามารถในการขจัดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น
10. เป็นผู้ตัดสิน( Decision Maker ) ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฏีต่าง ๆในการตัดสินใจ ตลอดจนมีความสามารถในการวินิจฉัยสั่งการเพื่อป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น
11. เป็นผู้เปลี่ยน ( Change Manager ) ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้นำในด้านการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์การเพื่อพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพ ผู้นำต้องรู้ว่าควรจะเปลี่ยนอะไร เปลี่ยนอย่างไรแบบทางใด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์
12. เป็นผู้บริหารแบบนักวางแผน ( Planner ) ผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตเตรียมวางแผนในการวางตัวบุคคลให้พร้อมกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น
13. เป็นผู้แก้ปัญหา ( Problems Manager ) ผู้บริหารต้องมีบทบาทในการแก้ปัญหามีความสามารถในการวินิจฉัยปัญหาเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การไม่จำเป็นต้องมีความขัดแย้งเสมอไป เพราะอาจมีปัญหาด้านอื่น ๆ ที่ผู้นำต้องสามารถแก้ปัญหาได้
14. เป็นผู้สื่อสาร ( Communicator ) บทบาทของผู้บริหารจะต้องเป็นผู้มีความสามารถในการสื่อสารทั้งภาษาเขียนและภาษาพูด วิธีการใช้สื่อต่าง ๆ ในการสื่อสารตลอดทั้งมีความสามารถในการประชาสัมพันธ์หน่วยงานของตน
15. เป็นผู้จัดองค์การ ( Organizer ) บทบาทของผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบงาน รู้วิธีการกำหนดโครงสร้างขององค์การขึ้นใหม่และมีความเข้าใจในพฤติกรรมขององค์การ
16. เป็นผู้บริหารทรัพยากร ( Resource Manager ) บทบาทของผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในการบริหาร 4” M คือ คน งาน วัสดุ และกระบวนการทำงานในองค์การ ตลอดทั้งการทำการศึกษา และการแสวงหาทรัพยากรจากภายนอกมาสนับสนุนการปฏิบัติงาน
17. เป็นผู้ประสานงาน ( Coordinator ) บทบาทของผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในการประสานกิจกรรมขององค์การ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ของบุคคล เข้าใจเครือข่ายของการสื่อสาร รู้วิธีการนิเทศงานและวิธีการรายงานผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานขององค์การมีประสิทธิภาพ
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นำ
ความหมายของบทบาทของผู้นำ
บทบาทของผู้นำ ( Role of Leadership ) หมายถึง พฤติกรรมที่ต้องปฏิบัติไปตามบทบาทของตำแหน่งในองค์การ เป็นพฤติกรรมที่สังคมเป็นตัวกำหนด โดยให้บุคคลปฏิบัติไปตามหน้าที่ และแต่ละหน้าที่ต้องมีความสัมพันธ์กัน ดังนั้น ผู้นำจึงต้องมีบทบาทในการที่จะนำคนเพื่อให้การปฏิบัติกิจกรรมขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์
ความหมายของบทบาทของผู้นำ
บทบาทของผู้นำ ( Role of Leadership ) หมายถึง พฤติกรรมที่ต้องปฏิบัติไปตามบทบาทของตำแหน่งในองค์การ เป็นพฤติกรรมที่สังคมเป็นตัวกำหนด โดยให้บุคคลปฏิบัติไปตามหน้าที่ และแต่ละหน้าที่ต้องมีความสัมพันธ์กัน ดังนั้น ผู้นำจึงต้องมีบทบาทในการที่จะนำคนเพื่อให้การปฏิบัติกิจกรรมขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์
1.กระตุ้นให้ประชากรมีการบริโภคมากขึ้น โดยการลดภาษีรายได้ สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อมากขึ้น
2.กระตุ้นให้มีการลงทุนในภาคเอกชนมากขึ้น โดยการลดภาษีประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีการค้า ภาษีการนำเข้าวัตถุดิบ เป็นต้น ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมะสมกับการลงทุน
3.รัฐบาลจะต้องใช้จ่ายมากขึ้น โดยใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล
2.กระตุ้นให้มีการลงทุนในภาคเอกชนมากขึ้น โดยการลดภาษีประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีการค้า ภาษีการนำเข้าวัตถุดิบ เป็นต้น ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมะสมกับการลงทุน
3.รัฐบาลจะต้องใช้จ่ายมากขึ้น โดยใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล
เงินฝืด
เงินฝืด ( Deflation ) เป็นสถานการณ์ที่ตรงกันข้ามกับเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อย ๆ และผลของภาวะเงินฝืดจะตรงข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ กล่าวคือผู้ที่มีรายได้ประจำและเจ้าหนี้จะได้เปรียบ ส่วนพ่อค้านักธุรกิจและผู้ถือหุ้นจะเสียเปรียบ ในภาวะเช่นนี้ทำให้ผู้ผลิตขายสินค้าไม่ออก การผลิต การลงทุน และการจ้างงานลดลงทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มมากขึ้น
การแก้ไขภาวะเงินฝืด สามารถแก้ไขได้ด้วยนโยบายการเงินและการคลังเช่นกัน เพราะนโยบายทั้งสองนี้ นอกจากจะมีมาตรการในการลดค่าใช้จ่ายมวลรวมแล้ว ( ในกรณีการแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ) ก็ยังมีมาตรการในการช่วยให้ค่าใช้จ่ายมวลรวมเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะมีผลทำให้สามารถขจัดอุปทานส่วนเกินได้หมด ภาวะเงินฝืดก็จะสิ้นสุดลง อาจสรุปมาตรการในการแก้ไขภาวะเงินฝืดได้ดังนี้
เงินฝืด ( Deflation ) เป็นสถานการณ์ที่ตรงกันข้ามกับเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อย ๆ และผลของภาวะเงินฝืดจะตรงข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ กล่าวคือผู้ที่มีรายได้ประจำและเจ้าหนี้จะได้เปรียบ ส่วนพ่อค้านักธุรกิจและผู้ถือหุ้นจะเสียเปรียบ ในภาวะเช่นนี้ทำให้ผู้ผลิตขายสินค้าไม่ออก การผลิต การลงทุน และการจ้างงานลดลงทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มมากขึ้น
การแก้ไขภาวะเงินฝืด สามารถแก้ไขได้ด้วยนโยบายการเงินและการคลังเช่นกัน เพราะนโยบายทั้งสองนี้ นอกจากจะมีมาตรการในการลดค่าใช้จ่ายมวลรวมแล้ว ( ในกรณีการแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ) ก็ยังมีมาตรการในการช่วยให้ค่าใช้จ่ายมวลรวมเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะมีผลทำให้สามารถขจัดอุปทานส่วนเกินได้หมด ภาวะเงินฝืดก็จะสิ้นสุดลง อาจสรุปมาตรการในการแก้ไขภาวะเงินฝืดได้ดังนี้
มาตรการลดการลงทุน ได้แก่
(1)เพิ่มอัตราดอกเบี้ย
(2)ควบคุมและจัดสรรวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่ให้มีราคาสูงขึ้น
(3)ควบคุมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
มาตรการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
ในภาวะเงินเฟ้อรัฐบาลควรเก็บภาษีให้ได้มากกว่าการใช้จ่ายของรัฐบาล นั่นคือจะต้องใช้งบประมาณเกินดุล ( Surplus Budget ) ซึ่งอาจทำได้โดยเพิ่มอัตราภาษีทางอ้อมและระงับการใช้จ่ายในโครงการลงทุนต่าง ๆ
(1)เพิ่มอัตราดอกเบี้ย
(2)ควบคุมและจัดสรรวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่ให้มีราคาสูงขึ้น
(3)ควบคุมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
มาตรการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
ในภาวะเงินเฟ้อรัฐบาลควรเก็บภาษีให้ได้มากกว่าการใช้จ่ายของรัฐบาล นั่นคือจะต้องใช้งบประมาณเกินดุล ( Surplus Budget ) ซึ่งอาจทำได้โดยเพิ่มอัตราภาษีทางอ้อมและระงับการใช้จ่ายในโครงการลงทุนต่าง ๆ
4)มีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของประเทศ เพราะเมื่อระดับราคาสินค้าภายในประเทศสูงขึ้น สินค้าส่งออกจะมีราคาแพงกว่าเดิม ซึ่งจะเสียเปรียบในด้านการแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นในตลาดต่างประเทศ ผลก็คือการส่งออกลดลง อีกทั้งเมื่อระดับสินค้าภายในประเทศสูงขึ้น ประชาชนในประเทศก็จะหันความสนใจหรือความนิยมมาใช้สินค้าจากต่างประเทศการนำเข้าก็จะเพิ่มสูงขึ้น ฉะนั้นเมื่อการส่งออกลดลงและการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น ภาวการณ์ขาดดุลการค้าก็จะเพิ่มมากขึ้น
5)เจ้าหนี้เงินกู้จะได้รับผลเสียจากการเกิดภาวะเงินเฟ้อ เพราะอำนาจซื้อของเงินที่ได้รับชำระหนี้คืนจากลูกหนี้หรือค่าของเงินลดน้อยลง มีอำนาจซื้อน้อยกว่าในขณะที่กู้หรือให้สินเชื่อ
6)มีผลเสียต่อการกระจายรายได้ของประชาชนในประเทศ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำหรือเกิดช่องว่างในสังคมมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการกระจายรายได้ของบุคคลในสังคมที่มีระบบการผลิตด้านการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมควบคู่กัน หรือมีอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม หรือผู้ผลิต จะมีรายได้หรือสามารถปรับรายได้ให้สอดคล้องกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ได้เร็วกว่าบุคคลที่มีอาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพขายแรงงาน ฉะนั้นรายได้ที่แท้จริงของบุคคลแต่ละกลุ่มอาชีพจึงแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น
การแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ ส่วนการแก้ไขภาวะเงินเฟ้อสามารถกระทำได้โดยการใช้นโยบายการเงินและการคลัง เพราะการใช้นโยบายดังกล่าวจะทำให้ค่าใช้จ่ายมวลรวมลดลง เมื่อค่าใช้จ่ายมวลรวมลดลงราคาสินค้าก็จะไม่ถูกกดดันให้ขึ้นสูงอีกต่อไป ภาวะเงินเฟ้อก็จะสิ้นสุดลง อาจสรุปมาตรการแก้ไขภาวะเงินเฟ้อได้ดังนี้
5)เจ้าหนี้เงินกู้จะได้รับผลเสียจากการเกิดภาวะเงินเฟ้อ เพราะอำนาจซื้อของเงินที่ได้รับชำระหนี้คืนจากลูกหนี้หรือค่าของเงินลดน้อยลง มีอำนาจซื้อน้อยกว่าในขณะที่กู้หรือให้สินเชื่อ
6)มีผลเสียต่อการกระจายรายได้ของประชาชนในประเทศ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำหรือเกิดช่องว่างในสังคมมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการกระจายรายได้ของบุคคลในสังคมที่มีระบบการผลิตด้านการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมควบคู่กัน หรือมีอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม หรือผู้ผลิต จะมีรายได้หรือสามารถปรับรายได้ให้สอดคล้องกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ได้เร็วกว่าบุคคลที่มีอาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพขายแรงงาน ฉะนั้นรายได้ที่แท้จริงของบุคคลแต่ละกลุ่มอาชีพจึงแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น
การแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ ส่วนการแก้ไขภาวะเงินเฟ้อสามารถกระทำได้โดยการใช้นโยบายการเงินและการคลัง เพราะการใช้นโยบายดังกล่าวจะทำให้ค่าใช้จ่ายมวลรวมลดลง เมื่อค่าใช้จ่ายมวลรวมลดลงราคาสินค้าก็จะไม่ถูกกดดันให้ขึ้นสูงอีกต่อไป ภาวะเงินเฟ้อก็จะสิ้นสุดลง อาจสรุปมาตรการแก้ไขภาวะเงินเฟ้อได้ดังนี้
2)บุคคลที่มีรายได้ประจำ เช่น รายได้ที่เกิดจากการทำงานประเภทค่าจ้าง เงินเดือนหรือเป็นรายได้ของข้าราชการบำนาญหรือเบี้ยหวัด บุคคลเหล่านี้จะเสียประโยชน์และได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อ เพราะไม่สามารถปรับรายได้ให้เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อในขณะนั้น
3)เจ้าของปัจจัยการผลิตประเภทที่ดินหรือทุน ซึ่งมีรายได้จากค่าเช่าหรือดอกเบี้ย ถ้าไม่สามารถปรับค่าเช่าหรืออัตราดอกเบี้ยได้ตามอัตราเงินเฟ้อ รายได้ที่แท้จริงของบุคคลประเภทนี้จะลดลง
3)เจ้าของปัจจัยการผลิตประเภทที่ดินหรือทุน ซึ่งมีรายได้จากค่าเช่าหรือดอกเบี้ย ถ้าไม่สามารถปรับค่าเช่าหรืออัตราดอกเบี้ยได้ตามอัตราเงินเฟ้อ รายได้ที่แท้จริงของบุคคลประเภทนี้จะลดลง
ผลเสียของภาวะเงินเฟ้อ ได้แก่
1)การเกิดภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่ ( Full Employment ) ทรัพยากรการผลิตได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่สามารถนำเทคนิคการจัดการที่มีอยู่มาทำการผลิตเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเพิ่มขึ้นได้ ปริมาณสินค้าก็จะมีจำกัด เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้ออันเนื่องมาจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่ม จะส่งผลให้ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง อันหมายถึงอำนาจซื้อของประชาชนลดลงอย่างมาก ประชาชนไม่แน่ใจในค่าของเงิน การบริโภคหรือค่าใช้จ่ายในการบริโภคจะสูงขึ้น การออมที่เกิดขึ้นจริง ( Real Saving ) จะลดลง จะมีผลต่อการลงทุนที่เกิดขึ้นจริงลดลงไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติจะชะลอตัวลง เศรษฐกิจโดยรวมจะประสบปัญหาชะงักงัน การพัฒนาเศรษฐกิจจะเกิดอุปสรรค และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะน้อยกว่าที่วางแผนไว้
1)การเกิดภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่ ( Full Employment ) ทรัพยากรการผลิตได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่สามารถนำเทคนิคการจัดการที่มีอยู่มาทำการผลิตเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเพิ่มขึ้นได้ ปริมาณสินค้าก็จะมีจำกัด เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้ออันเนื่องมาจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่ม จะส่งผลให้ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง อันหมายถึงอำนาจซื้อของประชาชนลดลงอย่างมาก ประชาชนไม่แน่ใจในค่าของเงิน การบริโภคหรือค่าใช้จ่ายในการบริโภคจะสูงขึ้น การออมที่เกิดขึ้นจริง ( Real Saving ) จะลดลง จะมีผลต่อการลงทุนที่เกิดขึ้นจริงลดลงไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติจะชะลอตัวลง เศรษฐกิจโดยรวมจะประสบปัญหาชะงักงัน การพัฒนาเศรษฐกิจจะเกิดอุปสรรค และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะน้อยกว่าที่วางแผนไว้
2)เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ อันเนื่องมาจากอุปสงค์มวลรวมของระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นบุคคลที่อยู่ในฐานะหรืออาชีพธุรกิจการค้าซึ่งมีรายได้เปลี่ยนแปลงไปตามราคาสินค้า จะมีรายได้สูงขึ้น
3)ลูกหนี้เงินกู้ในภาวะที่เกิดเงินเฟ้อจะได้ประโยชน์ในอำนาจซื้อของเงิน กล่าวคือ การแสวงหารายได้ของธุรกิจที่กู้เงินมาลงทุนย่อมเกิดผลกำไรมากกว่าขาดทุน เนื่องจากราคาสินค้าสูงขึ้นผู้ประกอบธุรกิจจะมีรายได้มากขึ้น มีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น และการชำระหนี้ในจำนวนเงินที่เท่ากันในขณะที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ อำนาจซื้อหรือค่าของเงินจะน้อยกว่าตอนที่กู้ยืมในขณะที่ยังไม่เกิดภาวะเงินเฟ้อ
4)ผู้ถือหุ้นสามัญขององค์กรธุรกิจจะได้รับเงินปันผลมากขึ้น เพราะเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อองค์กรธุรกิจจะมีกำไรและขยายการผลิต ทำให้อัตรากำไรสูง การจ่ายเงินปันผลก็จะสูงตามส่วนไปด้วย
5)รัฐบาลจะได้รับประโยชน์จากการจัดเก็บภาษี เพราะเงินเฟ้อทางด้านอุปสงค์ขณะที่การจ้างงานไม่เต็มที่ จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว รายได้ส่วนบุคคลจะสูงขึ้น รัฐบาลก็สามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น
3)ลูกหนี้เงินกู้ในภาวะที่เกิดเงินเฟ้อจะได้ประโยชน์ในอำนาจซื้อของเงิน กล่าวคือ การแสวงหารายได้ของธุรกิจที่กู้เงินมาลงทุนย่อมเกิดผลกำไรมากกว่าขาดทุน เนื่องจากราคาสินค้าสูงขึ้นผู้ประกอบธุรกิจจะมีรายได้มากขึ้น มีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น และการชำระหนี้ในจำนวนเงินที่เท่ากันในขณะที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ อำนาจซื้อหรือค่าของเงินจะน้อยกว่าตอนที่กู้ยืมในขณะที่ยังไม่เกิดภาวะเงินเฟ้อ
4)ผู้ถือหุ้นสามัญขององค์กรธุรกิจจะได้รับเงินปันผลมากขึ้น เพราะเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อองค์กรธุรกิจจะมีกำไรและขยายการผลิต ทำให้อัตรากำไรสูง การจ่ายเงินปันผลก็จะสูงตามส่วนไปด้วย
5)รัฐบาลจะได้รับประโยชน์จากการจัดเก็บภาษี เพราะเงินเฟ้อทางด้านอุปสงค์ขณะที่การจ้างงานไม่เต็มที่ จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว รายได้ส่วนบุคคลจะสูงขึ้น รัฐบาลก็สามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น
ผลดีของภาวะเงินเฟ้อ ได้แก่1)การเกิดภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจมีการว่างงานโดยไม่สมัครใจ ( Involuntary Unemployment ) เครื่องมือ อุปกรณ์การผลิต และกำลังแรงงานยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ เมื่อระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอันเนื่องมาจากอุปสงค์เพิ่ม รายได้ของผู้ผลิตก็จะสูงขึ้น จูงใจให้เกิดการลงทุน ผลิตภัณฑ์ประชาชาติหรือรายได้ประชาชาติจะเพิ่มขึ้น แสดงถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ฉะนั้นในกรณีที่เกิดภาวะเงินเฟ้อที่ไม่รุนแรงละเป็นเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์เพิ่ม จะเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
สาเหตุที่สำคัญของการเกิดภาวะเงินเฟ้อ คือ
1.เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์เพิ่ม ( Demand-Pull Inflation ) หมายถึง ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากการที่อุปสงค์มวลรวม ( Aggregate Demand ) มีมากกว่าอุปทานมวลรวม ( Aggregate Supply ) ณ ระดับการจ้างงานเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าและบริการทั่ว ๆ ไปเพิ่มสูงขึ้น
2.เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนเพิ่ม ( Cost-Push Inflation ) หมายถึง เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนการผลิตสินค้าทั่ว ๆ ไปสูงขึ้น เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้น เช่น ราคาน้ำมันสูงขึ้นอัตราค่าจ้างสูงขึ้น เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้อุปทานมวลรวมลดลงในขณะที่อุปสงค์มวลรวมไม่เปลี่ยนแปลง จึงมีผลทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
ผลของเงินเฟ้อ ในด้านของภาวะเงินเฟ้อนั้นจะมีผลดีหรือก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชากรนั้น ย่อมแล้วแต่ลักษณะและค่าของอัตราเงินเฟ้อว่ามีลักษณะอย่างไรและมีอัตรามากน้อยเพียงใด แต่อย่างไรก็ตามจะมีผลต่อการผลิต การลงทุน การจ้างงานการออม และการกระจายรายได้ของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
1.เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์เพิ่ม ( Demand-Pull Inflation ) หมายถึง ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากการที่อุปสงค์มวลรวม ( Aggregate Demand ) มีมากกว่าอุปทานมวลรวม ( Aggregate Supply ) ณ ระดับการจ้างงานเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าและบริการทั่ว ๆ ไปเพิ่มสูงขึ้น
2.เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนเพิ่ม ( Cost-Push Inflation ) หมายถึง เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนการผลิตสินค้าทั่ว ๆ ไปสูงขึ้น เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้น เช่น ราคาน้ำมันสูงขึ้นอัตราค่าจ้างสูงขึ้น เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้อุปทานมวลรวมลดลงในขณะที่อุปสงค์มวลรวมไม่เปลี่ยนแปลง จึงมีผลทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
ผลของเงินเฟ้อ ในด้านของภาวะเงินเฟ้อนั้นจะมีผลดีหรือก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชากรนั้น ย่อมแล้วแต่ลักษณะและค่าของอัตราเงินเฟ้อว่ามีลักษณะอย่างไรและมีอัตรามากน้อยเพียงใด แต่อย่างไรก็ตามจะมีผลต่อการผลิต การลงทุน การจ้างงานการออม และการกระจายรายได้ของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
เงินเฟ้อ เงินฝืด และวัฏจักรธุรกิจ
เงินเฟ้อ
เงินเฟ้อ
เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากสินค้ามีระดับราคาสูง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ยังไม่ถือเป็นเงินเฟ้อ จำเป็นต้องสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยอาจมีสินค้าบางชนิดราคาสูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าบางชนิดคงที่หรือลดต่ำลง แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทั้งหมดโดยเฉลี่ยแล้วสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคา คือ “ดัชนีราคา” ( Price Index ) ซึ่งนิยม วัดในรูปดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีราคาขายส่ง เช่น หากกล่าวว่าในปีนี้ดัชนีราคาผู้บริโภคสูงขึ้นร้อยละ 10 ก็หมายความว่าระดับราคาสินค้าอุปโภค บริโภคโดยรวมสูงขึ้นมากกว่าปีที่แล้วร้อยละ 10 หรือมีภาวะเงินเฟ้อร้อยละ 10
การประกอบธุรกิจนับว่ามีบทบาทอย่างยิ่ง ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและเทคโนโลยีสารสนเทศ การดำเนินธุรกิจจึงจำเป็นที่ต้องมีการแข่งขันในทุก ๆๆ ทาง ทั้งนี้ โดยมุ่งหวังที่จะให้องค์กรของตนมีความเจริญก้าวหน้า ทันสมัย เป็นที่นิยมชมชอบของลูกค้าอยู่เสมอสิ่งที่ตามมาก็คือผลกำไรจากการดำเนินงานนั่นเอง อันหมายถึง ธุรกิจได้บรรลุความสำเร็จ
สังคมปัจจุบันนี้เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยข้อมูล ข่าวสาร ( Information Society ) และเป็นยุคที่เรียกว่า “โลกาภิวัตน์” ( Globalization ) ซึ่งหมายความว่า เป็นโลกของการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีการสื่อสารจะมีความทันสมัย ก้าวหน้า สามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว มีความคล่องตัวสูง ดังนั้น ธุรกิจใดที่มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงอยู่ในมือมากเท่าใดธุรกิจนั้นก็มีโอกาสที่จะพัฒนาตัวเองให้เจริญรุดหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น องค์กรธุรกิจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขวนขวายในการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งผลต่อการพัฒนาธุรกิจ หนึ่งในวิธีการนั้นก็คือ “การสัมมนา” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่องค์กรธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ต่างมองเห็นความสำคัญที่หน่วยงานจะต้องจัดให้มีขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากร พัฒนางาน และทรัพยากรอื่น ๆ ของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
สังคมปัจจุบันนี้เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยข้อมูล ข่าวสาร ( Information Society ) และเป็นยุคที่เรียกว่า “โลกาภิวัตน์” ( Globalization ) ซึ่งหมายความว่า เป็นโลกของการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีการสื่อสารจะมีความทันสมัย ก้าวหน้า สามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว มีความคล่องตัวสูง ดังนั้น ธุรกิจใดที่มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงอยู่ในมือมากเท่าใดธุรกิจนั้นก็มีโอกาสที่จะพัฒนาตัวเองให้เจริญรุดหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น องค์กรธุรกิจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขวนขวายในการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งผลต่อการพัฒนาธุรกิจ หนึ่งในวิธีการนั้นก็คือ “การสัมมนา” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่องค์กรธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ต่างมองเห็นความสำคัญที่หน่วยงานจะต้องจัดให้มีขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากร พัฒนางาน และทรัพยากรอื่น ๆ ของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)