คุณลักษณะของผู้นำ
1.คุณลักษณะของผู้นำที่ดี
คุณลักษณะของผู้นำ เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวของผู้นำแต่ละบุคคล จะมีผลทำให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่มีทั้งคุณลักษณะทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้ที่มาติดต่อสัมพันธ์กัน คุณลักษณะของผู้นำจะประกอบไปด้วยรูปสมบัติและคุณสมบัติ
รูปสมบัติ หมายถึง รูปร่าง หน้าตา และการแต่งกาย การปรากฏตัว การใช้น้ำเสียงกิริยาท่าทาง การพูด
คุณสมบัติ หมายถึง ลักษณะนิสัยต่าง ๆ เช่น ความซื่อสัตย์ ความสุภาพ ความกระตือรือร้น ความเชื่อมั่นในตนเอง ความรอบรู้ ความคิดริเริ่ม ความจำ และอารมณ์ขัน
ผู้นำจะต้องประกอบขึ้นด้วยคุณลักษณะสำคัญ ๆ หลายประการจึงจะสามารถติดต่อสื่อความคิดสร้างความสัมพันธ์และนำการกระทำของหมู่คณะได้ คุณลักษณะสำคัญ ๆของบุคคลที่มีลักษณะเป็นผู้นำ
1. มีความคิดริเริ่ม
1.1แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่ม
1.2เสนอความคิดที่จัดเป็นระเบียบ
1.3ไม่ย่อท้อต่องานหนัก
1.4ไม่ไร้ความคิดในยามคับขัน
2.ทำงานให้เจริญขึ้นหรือก้าวหน้าขึ้น
2.1พยายามส่งเสริมให้ลูกน้องเจริญขึ้น
2.2ยอมรับความไม่รู้ของตัวเองและพยายามแสวงหาผู้มาช่วยหรือศึกษา
เพิ่มเติม
3.มองเห็นและรับรู้ความคิดของผู้อื่น
3.1ยอมรับและสนับสนุนความคิดริเริ่มของผู้อื่น
3.2มองเห็นปัญหาและข้อข้องใจของผู้อื่น
3.3มองเห็นความสามารถหรือศักยภาพ ( Potentialities ) ของผู้อื่น
4.พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
4.1เต็มใจและมีความเมตตาต่อผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ใต้บังคับบัญชาที่เริ่มเข้ามาทำงานใหม่
4.2พยายามช่วยเหลือแนะแนวทางแก้ปัญหาให้ผู้อื่น
5.ความสามารถในทางแสดงความคิดให้ผู้อื่นทราบ เช่น พูดและเขียนได้ชัดเจนเข้าใจง่าย ความสามารถในการพูในที่สาธารณะเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารโดยที่การพูโของผู้บริหารย่อมจะทำให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจความหมายมองเห็นสภาพความเป็นจริงของหน่วยงาน บางครั้งคนจะเชื่อหรือไม่เชื่อใจผู้บังคับบัญชา ก็เพราะความสามารถในการพูดนั่นเอง
6.รู้จักการติดต่อประสานงานให้เกิดความกลมกลืนระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ผู้นำจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในหน่วยงานนั้น ๆ โดยตรง การจัดงานที่ดีย่อมจะมีส่วนช่วยในเรื่องนี้ได้มาก
7.รู้จักเข้าสังคมเป็นที่เชื่อถือในสังคม
7.1เป็นผู้ที่ไว้ใจได้ ไม่หน้าไหว้หลังหลอก
7.2มีความแน่นอนในความคิดเห็นแต่ไม่ใช่ดื้อรั้น
7.3สุภาพ น่าคบ และเป็นมิตรกับคนได้ทุกชั้น
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา ( 2542:91-92) ได้เสนอแนะคุณลักษณะของผู้นำไว้ว่าผู้ที่มีลักษณะเหมาะที่จะได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้นำหรือแต่งตั้งให้เป็นผู้นำได้นั้น ควรมีลักษณะ 5 ประการดังต่อไปนี้
1.เป็นผู้นำที่มีการปรับตัวดีกว่าบุคคลทั่วไป เพราะผู้ที่สามารถปรับตัวให้ดีย่อมเป็นผู้ที่มีความสุข มีสุขภาพจิตดี และย่อมเป็นผู้ที่อำนวยประโยชน์ให้แก่กลุ่มได้มากกว่าผู้อื่น
2.เป็นบุคคลที่มีลักษณะเด่นกว่าคนทั่วไป มักเป็นคนที่มีผู้สนใจมาก สามารถพูดจาชักจูงให้สมาชิกทำตามโดยง่าย เป็นผู้สามารถนำคนอื่นได้ เพราะมีความรู้ดีกว่าบุคลิกดีกว่าผู้อื่น
วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551
สรุป
การศึกษาการเป็นผู้นำเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ที่ผู้ศึกษาจะต้องเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจเป็นอย่างดี เพื่อให้การปฏิบัติงานไปสู่ความสำเร็จ โดยมีปัญหาน้อยที่สุดเพราะการเป็นผู้นำมีความจำเป็นต่อการพัฒนาตนเอง และต่อการจัดองค์การให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการนำเสนอเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึงความหมายของการเป็นผู้นำ ความสำคัญของการเป็นผู้นำ องค์ประกอบการเป็นผู้นำ แหล่งที่มาของอิทธิพลของผู้นำ และทฤษฏีการเป็นผู้นำ จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาอย่างยิ่งที่จะนำไปปฏิบัติเพื่อการเป็นผู้นำที่ดี
การศึกษาการเป็นผู้นำเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ที่ผู้ศึกษาจะต้องเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจเป็นอย่างดี เพื่อให้การปฏิบัติงานไปสู่ความสำเร็จ โดยมีปัญหาน้อยที่สุดเพราะการเป็นผู้นำมีความจำเป็นต่อการพัฒนาตนเอง และต่อการจัดองค์การให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการนำเสนอเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึงความหมายของการเป็นผู้นำ ความสำคัญของการเป็นผู้นำ องค์ประกอบการเป็นผู้นำ แหล่งที่มาของอิทธิพลของผู้นำ และทฤษฏีการเป็นผู้นำ จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาอย่างยิ่งที่จะนำไปปฏิบัติเพื่อการเป็นผู้นำที่ดี
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นำ
หน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสิ่งควบคู่กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ความรับผิดชอบ เกิดขึ้นและมีอยู่กับบุคคลโดยไม่อาจมอบหมายให้กันได้ เพราะเป็นเรื่องของทัศนคติ ความรับผิดชอบจะมีขีดจำกัดอยู่ที่ความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความซื่อตรงต่อข้อผูกพันที่ปรากฏขึ้น
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นำมีอยู่มากมาย ซึ่งในฐานะผู้นำขององค์การเมื่อผู้นำดำรงตำแหน่งในองค์การย่อมต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยทั่วไปจะมีหน้าที่หลักอยู่ 3 ประการ ดังนี้ ( นิภาพรรณ สุวรรณนาถ.2541:163-164 )
1.หน้าที่ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ( Interpersonal Functions ) ผู้บริหารมีหน้าที่หลักในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของหน่วยงาน จะต้องออกงานพิธีหรือออกหน้าแทนสมาชิกอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ขององค์การและสมาชิกและปกป้องเมื่อมีการกล่าวถึงองค์การในแง่ร้ายผู้บริหารในบทบาทหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพขององค์การต่อสาธารณชนในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ ผู้บริหารจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อ รับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงาน ซึ่งช่วยให้ทราบความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในองค์การ การกำหนดเป้าหมาย ทิศทางการดำเนินงานต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องอาศัยข้อมูลความต้องการของสมาชิก การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในองค์การก็เป็นการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีด้วย ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนี้ผู้บริหารอาจต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการติดต่อพูดคุยแต่ก็คุ้มค่าในการใช้เวลานั้น
2.หน้าที่ด้านข่าวสาร ( Informational Functions ) กล่าวได้ว่าผู้บริหารเป็นจุดศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในองค์การ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะถูกรายงานไปยังผู้บริหารเพื่อทราบและตัดสินใจ ผู้บริหารที่ฉลาดจึงต้องมีข้อมูลให้มากที่สุดเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจ ซึ่งนอกจากได้มาจากการรับรายงานที่เป็นทางการจากส่วนต่าง ๆ ขององค์การและการเข้าไปพบปะพูดคุยกับพนักงานอื่น ๆ แล้ว ผู้บริหารยังต้องเสาะแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข่าวภายนอก เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวารสารวิชาการต่าง ๆ ในหน้าที่นี้ผู้บริหารจึงเท่ากับเป็นเครื่องรับข่าวสาร และยังมีหน้าที่ในการกระจายข่าวไปยังผู้อื่นด้วย แต่จะเกิดประโยชน์แก่องค์การมากที่สุด ขณะเดียวกันยังต้องทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศหรือโฆษกขององค์การที่จะทำให้บุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การได้ทราบว่าองค์การของตนมีเป้าหมายนโยบายหรือแผนงานอะไร ผู้บริหารอาจทำหน้าที่ด้วยตนเองหรือประกาศผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ ก็ได้
3.หน้าที่ด้านตัดสินใจ ( Decision-making Functions ) ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการ ( Entrepreneur ) ผู้บริหารจะต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นำสิ่งใหม่ ๆ และเปลี่ยนแปลงองค์การให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้บริหารจะต้องวิเคราะห์แนวโน้มของสังคมที่มีต่องานที่ตนรับผิดชอบและหาทางปรับปรุงผลงานให้ดีอยู่เสมอ ดังนั้น จึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Change Agent ) ซึ่งโดยปกติผู้บริหารระดับสูงจะเป็นผู้ปรับปรุงด้านนโยบายและผู้บริหารระดับกลางมักจะทำหน้าที่ในการเสนอแนวทางการพัฒนาด้านเทคนิคการผลิตหรือการตลาด เป็นต้น การบริหารคนเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ลดน้อยลง ถ้างานไม่มีประสิทธิภาพหรือบุคลากรในองค์การมีความขัดแย้งกัน ในเรื่องการแก้ปัญหาขึ้น โคเฮ็น และคณะกล่าวไว้ว่า หัวหน้างานระดับต้นจะใช้เวลาในการแก้ปัญหาเรื่องมากกว่าผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป เพราะเขาจะต้องทำให้งานประจำวันดำเนินไปให้ดีที่สุดและปราศจากอุปสรรคในการทำงาน การตัดสินใจเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เพราะการจัดสรรทรัพยากร
หน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสิ่งควบคู่กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ความรับผิดชอบ เกิดขึ้นและมีอยู่กับบุคคลโดยไม่อาจมอบหมายให้กันได้ เพราะเป็นเรื่องของทัศนคติ ความรับผิดชอบจะมีขีดจำกัดอยู่ที่ความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความซื่อตรงต่อข้อผูกพันที่ปรากฏขึ้น
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นำมีอยู่มากมาย ซึ่งในฐานะผู้นำขององค์การเมื่อผู้นำดำรงตำแหน่งในองค์การย่อมต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยทั่วไปจะมีหน้าที่หลักอยู่ 3 ประการ ดังนี้ ( นิภาพรรณ สุวรรณนาถ.2541:163-164 )
1.หน้าที่ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ( Interpersonal Functions ) ผู้บริหารมีหน้าที่หลักในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของหน่วยงาน จะต้องออกงานพิธีหรือออกหน้าแทนสมาชิกอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ขององค์การและสมาชิกและปกป้องเมื่อมีการกล่าวถึงองค์การในแง่ร้ายผู้บริหารในบทบาทหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพขององค์การต่อสาธารณชนในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ ผู้บริหารจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อ รับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงาน ซึ่งช่วยให้ทราบความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในองค์การ การกำหนดเป้าหมาย ทิศทางการดำเนินงานต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องอาศัยข้อมูลความต้องการของสมาชิก การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในองค์การก็เป็นการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีด้วย ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนี้ผู้บริหารอาจต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการติดต่อพูดคุยแต่ก็คุ้มค่าในการใช้เวลานั้น
2.หน้าที่ด้านข่าวสาร ( Informational Functions ) กล่าวได้ว่าผู้บริหารเป็นจุดศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในองค์การ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะถูกรายงานไปยังผู้บริหารเพื่อทราบและตัดสินใจ ผู้บริหารที่ฉลาดจึงต้องมีข้อมูลให้มากที่สุดเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจ ซึ่งนอกจากได้มาจากการรับรายงานที่เป็นทางการจากส่วนต่าง ๆ ขององค์การและการเข้าไปพบปะพูดคุยกับพนักงานอื่น ๆ แล้ว ผู้บริหารยังต้องเสาะแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข่าวภายนอก เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวารสารวิชาการต่าง ๆ ในหน้าที่นี้ผู้บริหารจึงเท่ากับเป็นเครื่องรับข่าวสาร และยังมีหน้าที่ในการกระจายข่าวไปยังผู้อื่นด้วย แต่จะเกิดประโยชน์แก่องค์การมากที่สุด ขณะเดียวกันยังต้องทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศหรือโฆษกขององค์การที่จะทำให้บุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การได้ทราบว่าองค์การของตนมีเป้าหมายนโยบายหรือแผนงานอะไร ผู้บริหารอาจทำหน้าที่ด้วยตนเองหรือประกาศผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ ก็ได้
3.หน้าที่ด้านตัดสินใจ ( Decision-making Functions ) ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการ ( Entrepreneur ) ผู้บริหารจะต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นำสิ่งใหม่ ๆ และเปลี่ยนแปลงองค์การให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้บริหารจะต้องวิเคราะห์แนวโน้มของสังคมที่มีต่องานที่ตนรับผิดชอบและหาทางปรับปรุงผลงานให้ดีอยู่เสมอ ดังนั้น จึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Change Agent ) ซึ่งโดยปกติผู้บริหารระดับสูงจะเป็นผู้ปรับปรุงด้านนโยบายและผู้บริหารระดับกลางมักจะทำหน้าที่ในการเสนอแนวทางการพัฒนาด้านเทคนิคการผลิตหรือการตลาด เป็นต้น การบริหารคนเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ลดน้อยลง ถ้างานไม่มีประสิทธิภาพหรือบุคลากรในองค์การมีความขัดแย้งกัน ในเรื่องการแก้ปัญหาขึ้น โคเฮ็น และคณะกล่าวไว้ว่า หัวหน้างานระดับต้นจะใช้เวลาในการแก้ปัญหาเรื่องมากกว่าผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป เพราะเขาจะต้องทำให้งานประจำวันดำเนินไปให้ดีที่สุดและปราศจากอุปสรรคในการทำงาน การตัดสินใจเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เพราะการจัดสรรทรัพยากร
ความหมายของความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบ หมายถึง ภาระหรือพันธะผูกพันในการจะปฏิบัติหน้าที่การงานของผู้ร่วมงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ
เนื่องจากบุคคลต้องอยู่ร่วมกันทำงานในองค์การ จำเป็นต้องปรับลักษณะนิสัย เจตคติของบุคคลเพื่อช่วยเป็นเครื่องผลักดันให้ปฏิบัติงานตามระเบียบรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและมีความซื่อสัตย์สุจริต คนที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้การปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปด้วยความราบรื่น ความรับผิดชอบจึงเป็นภาระผูกพันที่ผู้นำต้องสร้างขึ้นเพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างดี
ถ้าในองค์การใดมีบุคคลที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้เกิดผลดีต่อองค์การดังนี้คือ
1.องค์การจะได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากผู้ร่วมงานและผู้อื่น
2.การปฏิบัติงานจะพบความสำเร็จทันเวลาและทันต่อเหตุการณ์ ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
3.ทำให้เกิดความเชื่อถือในตนเอง เพราะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเรียบร้อย
4.องค์การเกิดความมั่นคงเป็นที่ยอมรับนับถือจากผู้อื่น
5.องค์การประสบความสำเร็จสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นปึกแผ่นและมั่นคง
6.สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ความรับผิดชอบ หมายถึง ภาระหรือพันธะผูกพันในการจะปฏิบัติหน้าที่การงานของผู้ร่วมงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ
เนื่องจากบุคคลต้องอยู่ร่วมกันทำงานในองค์การ จำเป็นต้องปรับลักษณะนิสัย เจตคติของบุคคลเพื่อช่วยเป็นเครื่องผลักดันให้ปฏิบัติงานตามระเบียบรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและมีความซื่อสัตย์สุจริต คนที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้การปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปด้วยความราบรื่น ความรับผิดชอบจึงเป็นภาระผูกพันที่ผู้นำต้องสร้างขึ้นเพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างดี
ถ้าในองค์การใดมีบุคคลที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้เกิดผลดีต่อองค์การดังนี้คือ
1.องค์การจะได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากผู้ร่วมงานและผู้อื่น
2.การปฏิบัติงานจะพบความสำเร็จทันเวลาและทันต่อเหตุการณ์ ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
3.ทำให้เกิดความเชื่อถือในตนเอง เพราะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเรียบร้อย
4.องค์การเกิดความมั่นคงเป็นที่ยอมรับนับถือจากผู้อื่น
5.องค์การประสบความสำเร็จสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นปึกแผ่นและมั่นคง
6.สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
นอกจากนั้นหน้าที่ของผู้นำยังครอบคลุมหน้าที่ของนักบริหาร 5 ประการคือ
1.การวางแผน ( Planning ) ในการดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับภารกิจ( Mission ) วัตถุประสงค์ ( Objective ) และการปฏิบัติ ( Actions ) ผู้นำจะต้องรู้และเข้าใจนโยบายรู้ระเบียบวิธีปฏิบัติงานของหน่วยงาน สามารถที่จะวางแผนงานและปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้การตัดสินใจในการวางแผนในอนาคตขององค์การผิดพลาดน้อยที่สุด
2.การจัดองค์การ ( Organizing ) เป็นการกำหนดโครงสร้างบทบาทหน้าที่ของบุคลากรที่ทำงานในองค์การ ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการกำหนดงานและแบ่งงานในหน่วยงานให้เหมาะสมกับตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่ตนรับผิดชอบอย่างเต็มกำลังและความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน
3.การจัดบุคคลเข้าทำงาน ( Staffing ) เป็นการสรรหา การบรรจุแต่งตั้งและดำรงรักษาบุคคลในองค์การไว้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะต้องมีความสามารถด้านการบริหารจัดการบุคคล ในแต่ละตำแหน่งหน้าที่ของโครงสร้างองค์การ
4.การเป็นผู้นำ( Leading ) เป็นการที่ผู้นำนั้นสามารถมีอิทธิพลต่อบุคคลเพื่อให้เขาทำประโยชน์ให้กับองค์การ และเป้าหมายของผู้ร่วมงานเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดทำในการระดมความคิดเห็นของบุคคลนั้น จำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มีประสิทธิภาพสามารถจูงใจบุคคลให้ปฏิบัติตามความต้องการ โดยผู้นำต้องใช้หลักการจูงใจ การติดต่อสื่อสารและการสร้างขวัญกำลังใจมาช่วยในการบริหารงาน
5.การควบคุม ( Controlling ) เป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะต้องพัฒนาแผนงานรู้จักการวัดและแก้ไขปรับปรุงการทำงานระหว่างผู้ปฏิบัติกิจกรรมและองค์การ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ การควบคุมนี้เกี่ยวข้องกับการวัดผลถ้าเปรียบเทียบกับเป้าหมายแล้วปรากฏว่าได้เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานก็จะได้รับการแก้ไขปรับปรุงต่อไป เพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพที่ดี
1.การวางแผน ( Planning ) ในการดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับภารกิจ( Mission ) วัตถุประสงค์ ( Objective ) และการปฏิบัติ ( Actions ) ผู้นำจะต้องรู้และเข้าใจนโยบายรู้ระเบียบวิธีปฏิบัติงานของหน่วยงาน สามารถที่จะวางแผนงานและปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้การตัดสินใจในการวางแผนในอนาคตขององค์การผิดพลาดน้อยที่สุด
2.การจัดองค์การ ( Organizing ) เป็นการกำหนดโครงสร้างบทบาทหน้าที่ของบุคลากรที่ทำงานในองค์การ ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการกำหนดงานและแบ่งงานในหน่วยงานให้เหมาะสมกับตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่ตนรับผิดชอบอย่างเต็มกำลังและความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน
3.การจัดบุคคลเข้าทำงาน ( Staffing ) เป็นการสรรหา การบรรจุแต่งตั้งและดำรงรักษาบุคคลในองค์การไว้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะต้องมีความสามารถด้านการบริหารจัดการบุคคล ในแต่ละตำแหน่งหน้าที่ของโครงสร้างองค์การ
4.การเป็นผู้นำ( Leading ) เป็นการที่ผู้นำนั้นสามารถมีอิทธิพลต่อบุคคลเพื่อให้เขาทำประโยชน์ให้กับองค์การ และเป้าหมายของผู้ร่วมงานเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดทำในการระดมความคิดเห็นของบุคคลนั้น จำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มีประสิทธิภาพสามารถจูงใจบุคคลให้ปฏิบัติตามความต้องการ โดยผู้นำต้องใช้หลักการจูงใจ การติดต่อสื่อสารและการสร้างขวัญกำลังใจมาช่วยในการบริหารงาน
5.การควบคุม ( Controlling ) เป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะต้องพัฒนาแผนงานรู้จักการวัดและแก้ไขปรับปรุงการทำงานระหว่างผู้ปฏิบัติกิจกรรมและองค์การ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ การควบคุมนี้เกี่ยวข้องกับการวัดผลถ้าเปรียบเทียบกับเป้าหมายแล้วปรากฏว่าได้เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานก็จะได้รับการแก้ไขปรับปรุงต่อไป เพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพที่ดี
หน้าที่ในการปฏิบัติงานของผู้นำสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประการคือ
1. การบำรุงรักษากลุ่ม ( Group Maintenance ) หน้าที่ของผู้นำในการบำรุงรักษากลุ่ม เป็นการแสดงบทบาทหน้าที่ของผู้นำในฐานะผู้ประสานงานที่ดีสำหรับผู้ร่วมงานโดยการเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้แสดงความคิดเห็น ช่วยกันแก้ไขปัญหาและสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานทำงานตามอิสระตามความสามารถและตามความเหมาะสม
2. การทำงานให้บรรลุจุดประสงค์เป้าหมาย ( Goal Achievement Function ) หน้าที่ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายของผู้นำ เป็นการแสดงบทบาทหน้าที่ของผู้นำในการบริหารงานและดำเนินกิจกรรมขององค์การ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งได้แก่ ความสามารถทางด้านการวางแผนการประสานงาน การสั่งการ และการติดต่อสื่อสาร ตลอดทั้งความสามารถในการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้งานบรรลุจุดประสงค์ขององค์การ
1. การบำรุงรักษากลุ่ม ( Group Maintenance ) หน้าที่ของผู้นำในการบำรุงรักษากลุ่ม เป็นการแสดงบทบาทหน้าที่ของผู้นำในฐานะผู้ประสานงานที่ดีสำหรับผู้ร่วมงานโดยการเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้แสดงความคิดเห็น ช่วยกันแก้ไขปัญหาและสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานทำงานตามอิสระตามความสามารถและตามความเหมาะสม
2. การทำงานให้บรรลุจุดประสงค์เป้าหมาย ( Goal Achievement Function ) หน้าที่ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายของผู้นำ เป็นการแสดงบทบาทหน้าที่ของผู้นำในการบริหารงานและดำเนินกิจกรรมขององค์การ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งได้แก่ ความสามารถทางด้านการวางแผนการประสานงาน การสั่งการ และการติดต่อสื่อสาร ตลอดทั้งความสามารถในการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้งานบรรลุจุดประสงค์ขององค์การ
ความหมายของหน้าที่
หน้าที่ หมายถึง การกำหนดกิจกรรมหรือการได้รับสิทธิในการตัดสินใจเพื่อจะได้ปฏิบัติงานต่าง ๆ ในหน่วยงาน
การเป็นผู้นำที่ดีย่อมที่จะต้องเป็นผู้บริหารที่ดีด้วย เพราะต้องทราบงานในหน้าที่ของตน นั่นคือต้องมีหลักการบริหารงานเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างมีระเบียบแบบแผน จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ
หน้าที่ หมายถึง การกำหนดกิจกรรมหรือการได้รับสิทธิในการตัดสินใจเพื่อจะได้ปฏิบัติงานต่าง ๆ ในหน่วยงาน
การเป็นผู้นำที่ดีย่อมที่จะต้องเป็นผู้บริหารที่ดีด้วย เพราะต้องทราบงานในหน้าที่ของตน นั่นคือต้องมีหลักการบริหารงานเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างมีระเบียบแบบแผน จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)